เรื่องน่ารู้ของสีทาบ้าน ประเภทของสีทาบ้านที่คุณควรรู้
“สีทาบ้าน” เป็นสิ่งที่จะช่วยแต่งเติมสีสัน และสร้างบรรยากาศให้บ้านของเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้สีที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีนับร้อย ๆ ชนิดให้ได้เลือก แต่น้อยคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สีทาบ้านที่เราใช้กันอยู่นั้นมีกี่แบบ กี่ชนิด และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง วันนี้ แอดมิน จะพาไปรู้จัก องค์ประกอบ การใช้งานสีทาบ้าน เพื่อนำไปเลือกใช้ให้เหมาะสม สีติดทนนาน และปลอดภัยต่อสุขภาพคนในบ้าน จะมีอะไรบ้าง ตามดูมากันเลย. . .
รู้จัก สีทาบ้าน มีองค์ประกอบอะไร เลือกยังไงให้สีบ้านสวย ติดทนนาน
ส่วนผสมของสีทาบ้าน ประกอบด้วย ผงสีที่ให้ความสวยงาม , สารยึดเกาะที่ทำให้สีติดทน , ตัวทำละลายที่ทำให้สีไม่จับเป็นก้อน และสารเติมแต่งอื่นๆที่เพิ่มคุณภาพของสี
ชนิดของสีทาบ้านทั่วไปที่ใช้กัน คือ สีทาภายนอก สีทาภายใน และสีทารองพื้น
สีทาภายนอก ต้องเลือกสีที่ทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี และสะท้อนความร้อนได้
สีทาภายใน ควรเลือกสีที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีกลิ่น
สีทารองพื้น ควรเลือกให้ถูกประเภทว่าเป็นปูนใหม่หรือเก่า เพื่อให้สีทาทับหน้ายึดเกาะได้ดี
สีทาบ้านเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มสีสัน สร้างบรรยากาศให้กับบ้านของเรา แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า สีทาบ้านที่เราใช้กันอยู่นั้น มีกี่ชนิด และมีองค์ประกอบหลักๆที่สำคัญอะไรบ้าง บทความนี้ เดลูต้าเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักองค์ประกอบของสีทาบ้าน เพื่อนำไปใช้ในการเลือกซื้อสีทาบ้าน ให้สีติดทนนาน บ้านสวย และก็ปลอดภัยกับสุขภาพคนในบ้าน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
ส่วนผสมของสีทาบ้าน
ผงสี
สีสันจากเฉดสีที่เป็นตัวเลือกให้เรามากมาย เกิดจาก “ผงสี” ที่เป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดสีมาปิดบังสีพื้นผิวเดิม ทำให้เราเห็นว่าสีนี้คือสีอะไร และทำให้เกิดความสวยงามกับผนังบ้าน มักใช้ผงสีที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โมโนอะโซ พิกเม้นท์ (monoazo pigment) และส่วนผสมที่เป็นอนินทรีย์ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น
สารยึดเกาะ หรืออะครีลิค
เป็นส่วนสำคัญของสีทาบ้าน เพราะสารนี้จะคอยทำหน้าที่ยึดประสานผงสีหรือสารให้สีเข้ากับสารยึด เพื่อยึดเกาะให้ติดกับพื้นผิว และทำหน้าที่เคลือบพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ให้สีมีความเงางาม สารยึดที่เป็นองค์ประกอบหลักจะกระจายในรูปของอิมัลชันมีลักษณะสีขาวขุ่นคล้ายกาวหากยังไม่ได้ผสมกับผงสี เมื่อผสมกับผงสีจะให้เนื้อสีตามผงสี ลักษณะที่ดีของสารยึดเกาะ คือ
– สามารถแห้งตัวได้เร็ว
– มีความยืดหยุ่น เหนียว ไม่เปราะง่ายเมื่อแห้งตัว
– ทนต่อสภาพความเป็นกรด แสงแดด ความชื้น และสภาพแวดล้อมด้านอื่นๆ
ตัวทำละลาย
สารที่ทำหน้าที่ไม่ให้สีจับเป็นก้อนและช่วยให้สารยึดเกาะกับผงสีเป็นเนื้อเดียวกัน ถือเป็นส่วนประกอบที่มากที่สุด เพื่อให้มีความหนืดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น น้ำ
สารเติมแต่ง
เป็นสารปรุงแต่งต่างๆที่ใช้ผสมในสีทาบ้าน โดยใช้เติมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้สีทาบ้านมีคุณสมบัติในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ป้องกันการเกิดฟองของสี ป้องกันการบูดเน่าของสี เพิ่มการกระจายตัวของสี เพิ่มแรงยึดเกาะพื้นผิวให้ทนนาน เพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มความมันเงา ช่วยป้องกันแสงแดด ป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรา เป็นต้น
สารที่ใช้เติมบางชนิดมักมีโลหะหนักเป็นส่วนผสม ซึ่งปัจจุบันอาจเลิกใช้หรือบางชนิดยังมีอยู่ในองค์ประกอบอยู่ เช่น ปรอท และตะกั่ว โดย มอก. ประกาศกำหนดให้มีปริมาณปรอทเป็นส่วนประกอบไม่เกินร้อยละ 0.05 ตะกั่วไม่เกินร้อยละ 0.06 นั่นเองครับ ฉะนั้นก่อนซื้อ เลือกสีที่มีสารปรอท ตะกั่ว ให้น้อยหรือไม่มีเลยจะดีที่สุดนะครับ
ชนิดของผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน
สีทาบ้านจะที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปหลักๆ จะมีอยู่ 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทางที่ดีเราจึงควรเช็คให้ดีว่าสีที่เราต้องการนั้น มีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่หรือเปล่า ?
1.สีทาบ้านภายนอก
เป็นสีจริงที่ใช้ทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการเมื่อต้องใช้ทาภายนอก สีจึงถูกออกแบบมาให้มีความทนทานกว่าสีทาภายใน เพราะต้องเจอกับแดดและฝน จึงต้องเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนานนั่นเองครับ ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็ยังสามารถใช้ทาภายในได้ด้วยเช่นกัน
เครื่องลอกสีผนัง ลอกสีผนัง พร้อมปรับสภาพผนังใหม่ โดยการลอกผิวหน้าปูนเก่าออกด้วย แนะนำ เครื่องลอกสีผนัง ประหยัดแรง ย่นระยะเวลา ไม่จำเป็นต้องพึ่งน้ำยาลอกสีอีกต่อไป
เคล็ดลับการเลือกสีทาภายนอก
ด้วยสภาพภูมิอากาศของไทยมีหลากหลายฤดู เราจึงต้องเลือกสีทาภายนอกต้องทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งความร้อน แสงแดด แรงลม ความชื้น ได้ดี
สามารถปกปิดรอยแตกร้าว รอยแตกลายงาของผนังได้ ด้วยโมเลกุลของสีที่มีความยืดหยุ่น จะสามารถหดกลับตามสภาพโครงสร้าง และจากความร้อนได้ดี
ป้องกันน้ำซึมผ่าน ป้องกันพื้นผิวซีเมนต์ เหล็กจากน้ำฝน และความชื้นได้ดี เนื้อสีลื่น เป็นเงา ไม่จับฝุ่นง่าย
สามารถขัดหรือทำความสะอาดรอยเลอะ คราบสกปรกบริเวณผนังออกได้ง่าย โดยไม่ทำลายเนื้อสีให้เสียหาย
ป้องกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำได้ดี จากสารเติมแต่งที่อยู่ในส่วนผสมของสี
ทนต่อสภาพความร้อน รังสี เนื้อสีไม่ลุดลอกหรือซีดจางง่าย และสามารถสะท้อนความร้อนได้ ไม่ทำให้บรรยากาศในบ้านร้อน
2.สีทาภายใน
เป็นสีที่ใช้ทาทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายในบ้าน เป็นสีที่ไม่ต้องเจอสภาพอากาศแดด ฝน เท่าไหร่นัก แต่การเลือกสีทาภายในก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างง่าย ป้องกันเชื้อราได้ดี และไม่มีกลิ่นฉุน
เคล็ดลับการเลือกสีทาภายใน
เนื้อสีต้องมีความละเอียดเป็นเงา เพื่อให้ผนังภายในบ้านสวยงาม
สามารถเช็ดทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อน รอยด่างดำได้ง่าย และทนต่อแรงถูขัด เนื้อสีไม่หลุดลอก
สามารถป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย และคราบหมองคล้ำที่เกิดจากเชื้อรา
Low VOC ปราศจากกลิ่นฉุน กลิ่นสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อผู้อาศัย
3.สีทารองพื้น
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทารองพื้นในงานปูนที่ฉาบเสร็จ ก่อนจะใช้สีจริงทาทับด้วยสีทาภายในหรือภายนอก เพื่อให้เกิดโทนสีตามที่ต้องการ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุฉาบตกแต่งกับผนังฉาบปูนให้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์นี้เหมือนกับสีทาภายนอก และสีทาภายใน แต่ต่างที่ชนิดของกาว และส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะทนต่อสภาพความเป็นด่างได้ดี เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูน นั่นเองครับ
รองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ สีรองพื้นปูนใหม่ และสีรองพื้นปูนเก่า จะนำไปใช้ต่างกัน
สีรองพื้นปูนใหม่ : มีเนื้อสีขาว สูตรน้ำ ไม่มีกลิ่นฉุน ทาง่าย และมีราคาถูก ใช้สำหรับทาผนังฉาบปูนใหม่เท่านั้น เพื่อป้องกันรอยด่างที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน เนื่องจากในช่วงแรกหลังจากการฉาบผนัง ปูนฉาบจะมีการคายความชื้นออกมา ส่วนผสมของสีรองพื้นปูนใหม่จะมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดรอยด่าง และช่วยเรื่องการยึดเกาะที่ดีสำหรับผนังฉาบปูนและสีทับหน้า
สีรองพื้นปูนเก่า : แบ่งเป็น 2 สูตร คือ สูตรน้ำที่มีลักษณะเป็นสีขาว และสูตรน้ำมันที่มีลักษณะเป็นสีใส และมีกลิ่นฉุนกว่าสูตรน้ำ แต่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวและวัสดุดีกว่า สีรองพื้นปูนเก่าเหมาะสำหรับใช้ทารองพื้นผนังฉาบปูนที่ผ่านการทาสี หรือผ่านการใช้งานมานานแล้ว ซึ่งอาจมีการลอกร่อนของสีทับหน้าเดิม มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำจับ โดยต้องทำการขูดสีทับหน้าเดิม และล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกก่อน รอให้แห้งสนิท แล้วจึงทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทำการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน
เคล็ดลับการเลือกสีทารองพื้น
1.เนื้อสีต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยประสานรอยแตกร้าว รอยแตกงาได้ดี
2.ป้องกันด่างและคราบเกลือ ป้องกันน้ำซึมเข้าผนังได้ดี และลดปัญหาสีลอกล่อน
3.ฟิล์มสีต้องทนต่อสภาพอากาศได้ดี เพื่อให้สีทาทับหน้าคงทนสวยงาม ไม่ซีดจาง สีไม่พอง และไม่ลอกล่อน
4.ปราศจากสารปลอด ตะกั่ว โลหะหนัก ที่เป็นอันตราย มีกลิ่นอ่อน ไม่ฉุน Low VOC
เมื่อทุกคนรู้องค์ประกอบ และชนิดของสีทาบ้าน รวมถึงวิธีการเลือกสีทาบ้านแต่ละชนิดแล้ว เดลูต้าหวังว่า ทุกคนจะสามารถเลือกซื้อสีทาบ้านได้ง่ายขึ้น แถมได้สีทาบ้านที่มีคุณภาพ ทำให้สีบ้านสวยงาม ติดทนนานแน่นอนครับ
Cr. .deltapaint.co.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น