มารู้จัก เครื่องปั๊มลม กันเถอะ ว่ามีหน้าที่และการทำงานอย่างไรบ้าง
เครื่องปั๊มลม (Air Compressor) ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การใช้งานระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมเล็ก ๆ เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ ที่มีการใช้ปริมาณลมน้อยเเละแรงดันลมไม่สูง เครื่องปั๊มลมประเภทลูกสูบจึงเหมาะกับอุตสาหกรรมเล็ก ๆ ส่วนเครื่องปั๊มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรู ที่ให้ปริมาณลมที่มากและยังสามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์ นั่นเอง วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จัก ปั๊มลม แต่ละประเภทกัน
Air compressor หรือที่เรารู้จักกันในนาม เครื่องปั้มลม คอยทำหน้าที่อัดแรงดันลมให้สูงตามผู้ใช้ต้องการ รูปแบบการทำงานด้วยลมนี้เรานำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายทั้งแบบปั้มและแบบเครื่องอัดพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของพลังงาน นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก จนถึงโรงงานขนาดใหญ่
หากเราสังเกตุตามร้านซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงร้านซ่อมจักรยานยนตร์ การใช้งานของแต่ละประเภทปั๊มลมก็จะแตกต่างกันปั๊มลมประเภทลูกสูบ มีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่มากจนเกิดไป สามารถใช้งานได้ในครัวเรือน ส่วนโรงงานอุตสากรรมขนาดกลางและใหญ่ทั่วไปนั้นก็จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู ที่จะต้องใช้แรงดันอยากมากในการทำงาน
ส่วนประกอบและหน้าที่ของปั๊มลมส่วนต่างๆ
- หัวปั๊มลม ใช้ในการผลิตลม
- ถังเก็บลม ใช้สำหรับเก็บลมไว้ภายใน สำหรับไว้ใช้งาน
- มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นกำลังที่ใช้ในการผลิตลม
- เกจ์ จะเป็นตัวบอกแรงดันลมที่มีอยู่ภายในถังเก็บลม
- สวิทช์ออโตเมติก สั่งทำงานการดันลมโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำการสั่งหยุดลมเมื่อได้ลมที่ต้องการตามอัตโนมัติ และจะทำหน้าที่สั่งให้ลมทำงานต่อ เมื่อลมได้มีปริมาณลดลงตามที่ระบุไว้
- แม็กเนติก มีหน้าที่ป้องกันการทำงานของระบบมอเตอร์ไฟฟ้า
- โปโร ช่วยระบายลมออกจากถังเก็บลม เมื่อเวลาที่ระบบสวิทช์ออโตเมติกไม่ทำงาน
- สายระบายลม เป็นตัวผ่านลมลงไปยังถังเก็บลมภายใน
- เช็ควาล์ว เป็นตัวกันลมย้อนกลับเข้าหัวลม
- ตาแมว เป็นตัวแสดงปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ภายในหัวปั๊มลม ซึ่งตัวน้ำมันหล่อลื่นจะต้องอยู่ในปริมาณที่ระบุไว้เท่านั้น
- ท่อทองแดง ช่วยในการระบายลมออกจากสายระบายลม เพื่อที่จะได้ช่วยลดแรงเสียดทานจากการเริ่มต้นผลิตแรงลม
ประเภทของปั๊มลม ชนิดต่างๆ เราสามารถแบ่ง เครื่องปั๊มลม ออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
- Piston Air Compressor ปั๊มลมประเภทลูกสูบ
- Screw Air Compressor ปั๊มลมประเภทสกรู
- Sliding Vane Rotary Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน
- Roots Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน
- Diaphragm Air Compressor ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม
- Redial and axial flow Air Compressor ปั๊มลมประเภทกังหัน
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ปั๊มลม ที่นิยมใช้มากที่สุดและพบเห็นได้ทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ เครื่องปั๊มลม ประเภทสกรู และปั๊มลมประเภทลูกสูบ ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยปั๊มลมแบบสกรูจะเน้นไปเป็นการใช้งานแบบปั๊มโรงงาน ส่วนปั๊มลมลูกสูบ จะเป็นการใช้งานแบบ ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมจักรยานยนต์ทั่วไปนั้นเอง
ที่มา aircomsupply.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น