พื้นอีพ็อกซี่ คืออะไร? มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
พื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Floor) คืออะไร?
คือ พื้นที่ถูกเคลือบด้วยสีอีพ็อกซี่ โดยทั่วไปแล้วสีอีพ็อกซี่ จัดเป็นสี 2 ส่วน เมื่อจะใช้งานจะนำมาผสมกันทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้เกิดการเชื่อมขวางเป็นร่างแห และเป็นผืนเดียวกัน นิยมนำมาเคลือบพื้น และผนัง ที่ต้องการเรื่องความสะอาด และไร้รอยต่อ นอกจากนี้พื้นอีพ็อกซี่ ยังให้สมบัติเรื่องความทนต่อสารละลายกรด-เบส ได้ดี ทนต่อน้ำมัน อย่างไรก็ตาม พื้นอีพ็อกซี่ไม่ชอบแสง UV ซึ่งจะทำให้เหลืองได้ง่าย นอกจากนี้ในการติดตั้งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การพิจารณาลักษณะของพื้นที่ ที่จะทำการติดตั้ง ความชื้นปูน ลักษณะของพื้นปูน และการใช้งานของพื้นดังกล่าวด้วย
ประเภทของพื้นอีพ็อกซี่
โดยทั่วไปแล้วพื้นอีพ็อกซี่ จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ Epoxy Coating และ Epoxy Self Leveling
- พื้น Epoxy Coating
คือ พื้นที่ถูกเคลือบด้วยสีอีพ็อกซี่ความหนาต่ำ นิยมเคลือบที่ความหนา 300-450 ไมครอนหรือ 0.3-0.45 มิลลิเมตร ซึ่งในกระบวนเคลือบพื้นแบบนี้จะใช้ลูกกลิ้งในการเคลือบพื้นนิยมทำการเคลือบ 2 ครั้งหรือการกลิ้งสีอีพ็อกซี่ 2 รอบนั้นเอง สำหรับพื้น Epoxy Coating เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่ต้องรับแรงกดหรือน้ำหนักมากมาย อาทิเช่น พื้นทางเดิน กำแพงโรงงาน พื้นชั้น 2 เส้นและเครื่องหมายจราจร เป็นต้น
Epoxy Coating เหมาะกับพื้นประเภทไหน
- พื้นทางเดิน หรือบริเวณที่ไม่ต้องรับแรงโหลดหนัก
- พื้นโรงงานอุตสาหกรรม
- พื้นอุตสาหกรรม บริเวณลานผลิต
- พื้นบริเวณห้องทำงาน ที่ต้องการความเรียบ และเงา
- ห้างสรรพสินค้า
- ใช้ตีเส้นจราจร หรือสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ
- โรงพยาบาล, ห้องแลป, ห้องปลอดเชื้อ, ห้องผ่าตัด
คุณสมบัติของ Epoxy Coating
Epoxy Coating มีคุณสมบัติเดียวกันเกือบทั้งหมดที่ Epoxy Self Leveling สามารถทำได้ จะแตกต่างอยู่ข้อเดียว คือ เรื่องการกดทับ หรือรับแรงโหลด เนื่องจากแตกต่างกันที่ความหนาของฟิล์มผิวอีพ็อกซี่ นั่นเอง ดังนี้
- ทนทานต่อสารเคมี และความร้อน
- ไม่ซึมน้ำ ช่วยปกป้องคอนกรีตภายในไม่ให้ได้รับความเสียหาย
- ไม่เกิดฝุ่น และความสกปรก
- ป้องกันการเกิดเชื้อรา
- มีความเงา แข็งแรง และคงทน
- ทำความสะอาดง่าย
- ไร้รอยต่อ และป้องกันการสะสมของเชื้อโรคตามรอยต่อ
- ทนทานต่อน้ำมัน
- มีสีให้เลือกมากมาย และสามารถเลือกความหนาได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
- สามารถนำไปประยุกใช้ได้หลายประเภทของพื้น
- พื้น Epoxy Self Leveling
คือ พื้นที่ถูกเคลือบด้วยสีอีพ็อกซี่ ความหนาปานกลาง-สูง นิยมเคลือบที่ความหนาตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งในกระบวนเคลือบพื้นแบบนี้ จะใช้การติดตั้งด้วยเกรียงปาด และอาศัยทักษะความชำนาญของช่างเป็นพิเศษ ลักษณะเด่นของ พื้นอีพ็อกซี่ ระบบนี้คือ ความสวยงาม และความทนทาน เนื่องจากพื้นที่เกิดจากระบบนี้จะสามารถปรับระดับได้เอง (Self Leveling) และมีความเงางามสูงกว่าสีระบบอื่น ๆ สำหรับพื้น Epoxy Self Leveling เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการรับแรงกด หรือน้ำหนัก เช่น พื้นทางเดินที่มีรถโฟล์ทลิฟท์วิ่ง, พื้นฝ่ายผลิต, พื้นสโตร์, โชว์รูมที่ต้องการความสวยงาม เป็นต้น
Epoxy Self Leveling เหมาะกับพื้นประเภทไหน
- พื้นโรงงานอุตสาหกรรม
- พื้นอุตสาหกรรมผลิตอะไหล่รถยนต์, ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- พื้นอุตสาหกรรมเคมี
- ห้างสรรพสินค้า
- อาคารจอดรถ, ช่องจอดรถพิเศษ
- ลานอเนกประสงค์
- โชว์รูมรถยนต์
- โรงพยาบาล, ห้องแลป, ห้องปลอดเชื้อ, ห้องผ่าตัด
- โรงเก็บเครื่องบิน, โรงจอดรถ
ประโยชน์และคุณสมบัติของพื้น Epoxy Self Leveling
เหมาะกับพื้นที่ต้องการความเรียบ ไร้รอยต่อ และสวยงาม ทนทานต่อการขัดถูและแรงกระแทก ไม่แตกและหลุดร่อนได้ง่าย เหมาะทั้งใช้ในเชิงพาณิชย์ และอุตาสาหกรรม รวมไปถึงการใช้งานสำหรับที่พักอาศัย สามารถออกแบบลวดลาย แบ่งสี เพื่อกำหนดโซนงาน โซนความปลอดภัย ในโรงงานผลิต และคลั่งสินค้า อีกทั้งยังสามารถทำโลโก้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบริษัทได้อีกด้วย
- ป้องกันการกดทับ และแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี
- ทนทานต่อสารเคมีและความร้อน
- ไม่ซึมน้ำ ช่วยปกป้องคอนกรีตภายในไม่ให้ได้รับความเสียหาย
- ไม่มีกลิ่นฉุน และปราศจากสารทำละลาย
- ป้องกันการเกิดเชื้อรา
- มีความเงา แข็งแรง และคงทน
- ทำความสะอาดง่าย
- ไร้รอยต่อ และป้องกันการสะสมของเชื้อโรคตามรอยต่อ
- ทนทานต่อน้ำมัน
- มีสีให้เลือกมากมาย และสามารถเลือกความหนาได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
- สามารถนำไปประยุกใช้ได้หลายประเภทของพื้น
ทำไม Epoxy ถึงบวมพอง?
เนื่องจากEpoxy เป็นพื้นที่มีลักษณะฟิมล์ปิด 100% หมายความว่า เมื่อมีน้ำ, น้ำมัน หรือของเหลวหกลงบนพื้นผิวด้านบนของพื้นอีพ็อกซี่ น้ำ, น้ำมัน หรือของเหลว ดังกล่าวจะไม่ซึมเข้าสู่พื้นคอนกรีตด้านล่าง หากพื้นมีความชื้นจากพื้นผิวคอนกรีต ความชื้นนั้นจะไม่สามารถระเหยออกมาได้ จึงทำให้เกิดการสะสมและดันพื้น Epoxy ทำให้เกิดการบวมพอง และเกิดการหลุดร่อนในที่สุดนั่นเอง
ดังนั้น ก่อนจะทำการติดตั้งพื้นอีพ็อกซี่ เราควรจะตรวจสอบความชื้นเสียก่อน หากพื้นมีความชื้น (ค่ามากกว่า 9%) ควรลงเคมีที่สามารถบล็อกความชื้นได้ หรือที่เราเรียกว่า Moisture Barrier ซึ่งจะมีคุณสมบัติบล็อกความชื้นได้ไม่เกิน 20% เพียงเท่านี้ ก็สามารถลดปัญหาภาวการณ์บวมพองของพื้นอีพ็อกซี่ ได้แล้ว
ที่มา https://www.kachathailand.com/articles/พื้นอีพ็อกซี่-คืออะไร-ม/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น