มอก. คืออะไร? มีความสำคัญแค่ไหน?
ในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้ามากมายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น จากหน้าร้านทั่วไปจนถึงการบริการผ่านโลกออนไลน์ แต่คำว่า “มาตรฐานสินค้า” เป็นสิ่งที่หลายคนเริ่มตระหนักมากขึ้น โดยเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความปลอดภัย ซึ่งประเทศไทยก็มีหน่วยงานสำคัญอย่าง สมอ. ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนให้การรับรองภายใต้ตราสัญลักษณ์ “มอก.” แต่ผู้บริโภคก็ยังมีความเข้าใจผิดว่าทุกสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้ามาขายในประเทศมีมอก.ซึ่งในความจริงแล้วไม่ใช่ทุกสินค้าที่มีมอก.นั่นเอง
วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับมอก.ให้มากขึ้นกัน 😊
มอก. คืออะไร?
มอก.ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Thai Industrial Standard) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด สินค้าที่กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบัน ครอบคลุมสินค้าที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานพาหนะ, สิ่งทอ, วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
ข้อกำหนดที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ซึ่งจะต้องระบุอยู่บนตัวสินค้ามอก. มีส่วนประกอบดังนี้
- โลโก้มอก.
- ลำดับที่ในการออกเลขมอก.
- ปี พ.ศ. ที่ออกเลข
สินค้าที่มีตรามอก.คือสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด มีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา
เครื่องหมายมอก. มีความสำคัญอย่างไร?
สำหรับมอก.นั้น มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต | ประโยชน์ตอผู้บริโภค |
---|---|
|
|
👉 ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
- ช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทําให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเข้าใจที่ตรงกัน
- ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย
- ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
- สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย
- ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้ามาจําหน่ายในประเทศ
- สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกกิจของประเทศ
หมายเลขมอก. คือหมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุลำดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่สมอ.ประกาศเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น เครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงว่าสินค้าได้รับมาตรฐานอะไร
เครื่องหมายมอก. มีอะไรบ้าง?
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบรับรองสมอ. แล้วว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานที่กำหนด มีความปลอดภยในการอุปโภคบริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งานและมีคุณภาพสมราคา ปัจจุบันสมอ.ได้อนุญาตในแสดงเครื่องหมายมอก.กับผลิตภัณฑ์ 5 เครื่องหมาย คือ
1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลักประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่าและเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร, วัสดุก่อสร้าง, วัสดุสำนักงาน, เครื่องใชไฟฟ้า เป็นต้น
2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิตผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์จะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ, สายไฟฟ้า, บัลลาสต์, ผงซักฟอก, ท่อพีวีซี, ผลิตภัณฑ์เหล็ก, ถังดับเพลิง, ของเล่นเด็ก, หมวกกันน๊อค เป็นต้น
3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งอมส.จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นแบบบังคับต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย
4. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดน้ำและการไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ เช่น เครื่องซักผ้า ที่ประหยัดน้ำ, ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นแบบบังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย
5. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์, โทรสาร, เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นมาตรฐานบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นเครื่องหมายที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) นั้นผู้รับรอง คือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) จะเป็นผู้ให้การรับรองโดยจะมีเงื่อนไขการรับรองไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมายมอก. ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสมอ.จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ไว้ที่ผลิตภัณฑ์
เมื่อเราได้รู้เรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานและสัญลักษณ์มอก.ต่าง ๆ แล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะเข้าใจแล้วนำไปสังเกตุและพิจารณาในการเลือกซื้อสินค้าไม่มากก็น้อย 🥰
อ้างอิงข้อมูล : https://www.tisi.go.th/
ที่มา : Kacha
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น