ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนะนำ “วัสดุ-ผนังเบา” เลือกใช้อย่างไร?

  • 210121-Content-แนะนำ-วัสดุผนังเบา-เลือกใช้อย่างไร-01

    ผนังเบา คือ ผนังที่มีโครงคร่าวไม้อะลูมิเนียม หรือเหล็กเป็นโครงสร้างหลัก และปิดทับด้วยวัสดุแผ่นผนัง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นยิปซัมหรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เพราะโดยปกติแล้วตามแนวของผนังก่ออิฐฉาบปูนต้องรองรับด้วยแนวคานเพื่อความแข็งแรง แต่ผนังเบา ไม่จำเป็นต้องมีคานรองรับ เหมาะสำหรับการงานออกแบบตกแต่งภายใน แบ่งห้องให้เป็นสัดส่วน และผนังเบา นั้นสามารถติดตั้งได้ง่าย ประหยัด จึงเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์ในการเลือกมาใช้งานได้ดีที่สุดนั่นเอง

    ผนังเบา  ผนังที่ก่อสร้างด้วยการติดตั้งวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าผนังก่ออิฐหรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุที่ใช้ทำโครงคร่าว ได้แก่ โครงเหล็กรูปพรรณ โครงเหล็กชุบสังกะสี หรือโครงไม้เนื้อแข็ง โดยการติดตั้งจะใช้ตะปูหรือตะปูเกลียวเป็นตัวยึดวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว  ส่วนการตกแต่งพื้นผิว ทำได้หลายวิธี เช่น การทาสี ติดวอลล์เปเปอร์ ปูกระเบื้อง ฉาบด้วยปูนฉาบตกแต่งผิวบาง


    วัสดุ ผนังเบา นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป 👉 วันนี้ KACHA ขอแนะนำ วัสดุสำหรับกั้นผนังเบา ที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ให้คุณได้เลือกใช้มาฝากกัน . . .


    ประเภทของ ผนังเบา มีอะไรบ้าง?

    210121-Content-แนะนำ-วัสดุผนังเบา-เลือกใช้อย่างไร-02

     

    ประเภทคุณลักษณะ
    แผ่นไม้อัดซีเมนต์ผลิตจากเศษไม้อัดผสมกับปูนซีเมนต์ เป็นผนังเบาที่มีราคาสูงและหนักที่สุด
    แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ผลิตจากปูนซีเมนต์ที่ปลอดใยหิน และผสมกับทรายซิลิกา
    แผ่นยิปซัมทำมาจากผงยิปซัมเผาและปิดทับด้านหน้าและด้านหลังด้วยกระดาษเหนียว เป็นผนังเบาที่มีน้ำหนักเบาที่สุด
    แผ่นเซลโลกรีตมีลักษณะด้านนอกคล้ายกับแผ่นยิปซัม วัตถุดิบในการทำแผ่นเซลโลกรีต ได้แก่ เส้นใยไม้เนื้ออ่อนและปูนซีเมนต์ ทำให้มีน้ำหนักเบา


    👉 แบ่ง 6 ชนิดของ ผนังเบา ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีดังนี้

    1.) แผ่นซีเมนต์บอร์ด คุณสมบัติเด่น คือ กันน้ำ กันปลวก ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การรีไซเคิลค่อนข้างยาก และมีราคาสูง

    2.) แผ่นยิปซัมบอร์ด ข้อเสีย คือ ไม่กันน้ำ (ยกเว้นบางสเปคที่มีความพิเศษสามารถกันความชื้นได้) ไม่กันปลวก เหมาะสำหรับใช้ภายใน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลง่าย ส่วนใหญ่มักนำไปปิดทับผิวผนังก่ออิฐอีกทีเพื่อให้ผิวเนียบเรียบ ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว

    3.) แผ่นไม้อัดยาง คุณสมบัติเด่น คือ มีความเบาบางแต่แข็งแรง ซ่อมแซมง่ายใช้งานได้เหมือนไม้จริง มีความหลากหลายให้เลือกใช้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงและรีไซเคิลง่าย แต่ควรเลือกความหนาให้ตรงกับการใช้งาน เพราะไม้ที่บางเกินไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาแตกหัก บวมในอนาคตได้ และควรมีการกั้นน้ำที่ดีทั้งขอบและพื้นผิวด้วย

    4.) แผ่นสมาร์ทบอร์ด คุณสมบัติเด่น คือ สามารถดัดโค้งได้ตามการใช้งาน กันปลวก ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลง่าย ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ

    5.) แผ่นเซลโลกรีต คุณสมบัติเด่น คือ มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนไฟ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงและรีไซเคิลง่าย ถ้าต้องการกันเสียงไม่ให้ออกไปภายนอก ควรฉาบปูนที่ผนังด้านนอกหรือหากเป็นผนัง 2 ชั้น ควรกรุโฟมหรือวัสดุอื่นระหว่างผนังทั้ง 2 ด้านด้วย

    6.) แผ่นไม้สังเคราะห์ (WPC) ผลิตจาก Wood Plastic Composites เป็นวัสดุคอมโพสิทชนิดพอลิเมอร์คอมโพสิทที่นำเอาส่วนผสมของผงไม้ ขี้เลื่อยไม้ หรือเส้นใยไม้ และพอลิเมอร์พลาสติก ผ่านกระบวนการผลิตรวมกันเป็นไม้สังเคราะห์ คุณสมบัติเด่น คือ ทนน้ำ ผิวสัมผัสเหมือนไม้จริง มีความทนทาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงและรีไซเคิลง่าย แต่ด้วยความที่เป็นวัสดุที่ผสมพลาสติก อาจจะทำให้มีความซีดจางและกรอบแตกได้ หากโดนแดดหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีแดดรุนแรง เช่น บนชาน ระเบียงบ้านทางทิศใต้ เป็นต้น


    👍 ข้อดีและประโยชน์ของผนังเบา
     


     ผนังเบาสามารถติดตั้ง รื้อถอนหรือแก้ไขได้ง่ายและประหยัดเวลา

    ✔ ผนังเบาเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการตกแต่งต่อเติมที่มีข้อจำกัดในการทุบผนังหรือไม่สามารถก่อผนังกั้นห้องได้

    ✔ ผนังเบาเหมาะสำหรับตกแต่งต่อเติมหรือกั้นห้องสำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม เพราะต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้ยาก

    ✔ ผนังเบาไม่จำเป็นต้องมีคานรองรับ จึงเหมาะสำหรับการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลัง

    ✔ ผนังเบามีหลายประเภท สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่หรือเหมาะกับห้องแต่ละรูปแบบ


    🤔 
    ข้อควรระวังสำหรับการเลือกใช้ผนังเบา

     ผนังเบาส่วนใหญ่ไม่ทนต่อความชื้น จึงไม่เหมาะกับห้องที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ หรือห้องครัวบางรูปแบบ

     ผนังเบาไม่เหมาะต่อการเจาะหรือแขวน เช่น การแขวนโทรทัศน์หรือรูปภาพ เพราะว่าไม่แข็งแรงเท่าผนังก่ออิฐหรือผนังคอนกรีต

    👌 การเลือกประเภทของผนังเบาต้องให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ เช่น ห้องที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น ห้องนอนหรือห้องพระ ควรเลือกใช้ผนังเบากันเสียงประเภทแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือแผ่นเซลโลกรีต เพราะป้องกันเสียงได้ดีที่สุด

    นอกจากนั้น การกั้นห้องด้วยผนังเบา ยังทำให้ตรงกลางระหว่างโครงคร่าวจะมีพื้นที่ว่างอยู่ ซึ่งสามารถติดตั้งฉนวนหรือเดินท่องานระบบซ่อนไว้ภายในผนังได้เป็นอย่างดี

    ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผนังเบา
    • ผนังเบามีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและเสียงได้น้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ การเพิ่มฉนวนกันความร้อนเข้าไปที่ช่องว่างระหว่างโครงคร่าวแล้วปิดทับด้วยแผ่นบอร์ดก็จะช่วยป้องกันความร้อนช่วยห้องเย็นขึ้น อีกทั้งฉนวนความร้อนยังสามารถช่วยกันเสียงได้อีกด้วย
    • หลายคนคงเข้าใจว่าอิฐมวลเบาสามารถใช้ทำผนังเบาได้ แต่จริง ๆ แล้วอิฐมวลเบามีน้ำหนักใกล้เคียงกับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป อิฐมวลเบาจึงเหมาะกับงานภายนอกที่ต้องการความแข็งแรง ทนสภาพอากาศ ทนความร้อนมากกว่า
    • การแขวนของหนัก เช่น โทรทัศน์ กรอบรูปขนาดใหญ่ ต้องคำนึกถึงโครงสร้างภายในของผนังเบาด้วย ควรเสริมโครงคร่าวให้ถี่ขึ้น เช่น จากเดิมโครงคร่าวมีขนาดห่างกัน 60 ซม. ควรเปลี่ยนเป็น 40 หรือ 30 ซม. และควรยึดสิ่งที่แขวนกับโครงคร่าว ไม่ใช่ยึดกับบอร์ดที่ใช้ปิดผิว
    • ช่วงระหว่างรอยต่อของแผ่นบอร์ดเป็นจุดที่สำคัญ เพราะเป็นจุดที่เกิดการแตกร้าวได้ง่ายที่สุดจากหลายสาเหตุ เช่น การยืดหดตัวของแผ่นบอร์ด การทรุดตัวของโครงสร้าง และการกระทบกระเทือนจากแรงภายนอก ควรฉาบด้วยอะคริลิคฉาบบาง เช่น Acrylic Sealant หรือ Wall Putty ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง ยึดเกาะได้ดี หากต่อแผ่นบอร์ดแบบเว้นร่องควรยิงยาแนวด้วยโพลียูริเทนซิลแลนท์ (PU Sealant)


    “ผนังเบา” หรือ “ผนังภายใน” เป็นสิ่งที่เพิ่มความเป็นห้อง เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากขึ้น สำหรับบ้านที่กำลังก่อสร้าง การแบ่งพื้นที่ห้องภายในเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ ส่วนบ้านที่ต้องการจะปรับปรุงหรือกั้นห้องใหม่ การเลือกใช้วัสดุ และจัดพื้นที่ใหม่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมมูลให้ดีก่อนด้วยทุกครั้งเพื่อบ้านแสนรักของคุณเอง 🥰


    ที่มา : Kacha

    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    ตลับเมตร วิธีใช้งานและการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

    ฝ้าทีบาร์ คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน

    บ่อเกรอะ บ่อซึม มีลักษณะเป็นอย่างไร?